วัณโรคคือ
 
โรควัณโรค
 

เชื้อมัยโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซีส จะก่อโรคและติดต่อได้หากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของพวกมัน ในบางรายหลังจากติดเชื้อได้ไม่นานก็พัฒนาจนกลายเป็นวัณโรค ก่อนที่ระบบภูมิต้านทานจะสามารถต่อกรกับเชื้อวัณโรคได้เสียอีก ขณะที่อีกหลายคนอาจเกิดการเจ็บป่วยภายหลังเมื่อภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงด้วยเหตุผลต่างๆ ทารก และเด็กเล็กๆ มักจะมีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ ผู้ที่ติดเชื้อไวรัส เอช ไอ วี หรือ ผู้ป่วยเอดส์ ก็ยิ่งมีระบบภูมิคุ้มกันที่ต่ำมาก

 
 
 
 

บุคคลอื่นก็สามารถมีภูมิคุ้มกันต่ำได้ โดยเฉพาะในสภาวะดังต่อไปนี้:

  • การใช้ยาหรือสารต่างๆ

  • โรคเบาหวาน

  • ปอดอักเสบเนื่องจากการสูดเอาฝุ่นหินทรายที่มีสาร
    ซิลิกอนเข้าไป (Silicosis)

  • มะเร็งในเม็ดโลหิตขาว หรือโรคต่อมน้ำเหลืองอักเสบเรื้อรัง

  • โรคไตชนิดร้ายแรง

  • น้ำหนักตัวต่ำ

  • การได้รับการรักษาบางอย่าง (เช่น การรักษาโดยรับฮอร์โมนในกลุ่มคอร์ติโคสเตอรอยด์ หรือมีการปลูกถ่ายอวัยวะ)

 

อาการของวัณโรค

อาการของวัณโรคขึ้นอยู่กับว่าเชื้อวัณโรคจะไปเติบโตที่ส่วนใดของร่างกาย เชื้อวัณโรคมักไปเติบโตที่ปอดทำให้กลายเป็นวัณโรคปอด

ซึ่งมีอาการสำคัญร่วมกันดังนี้:

  • ไออย่างหนักติดต่อกันนานกว่า 2 สัปดาห์
  • มีอาการเจ็บหน้าอก
  • ไอออกมาเป็นเลือด หรือเสมหะปนเลือด (เสมหะที่มาจากส่วนลึกด้านในของปอด)
  • อ่อนเพลีย หรือเหนื่อยล้า
  • น้ำหนักลด
  • เบื่ออาหาร
  • หนาวสั่น
  • มีไข้เหงื่อออกในเวลากลางคืน

วัณโรคในเด็ก:

เด็กๆสามารถรับเชื้อวัณโรคจากญาติผู้ใหญ่ที่สูงอายุ หรือพี่เลี้ยง เด็กที่อยู่ในชุมชนแออัด หรือมีฐานะยากจนจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรคมาก เด็กที่อายุต่ำกว่า 3 ปีจะมีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อวัณโรคมากกว่าวัยอื่นๆ และเมื่อเด็กเกิดเป็นวัณโรคแล้ว เชื้อวัณโรคเหล่านี้ จะแพร่กระจายไปตามกระแสเลือดไปทั่วตัว จนก่อให้เกิดวัณโรคปอด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ วัณโรคกระดูก ต่อมน้ำเหลือง ไต ลำไส้ และกล่องเสียง เป็นต้น วัณโรคในเด็กจะมีอาการตาม อวัยวะที่เป็น แต่ในเด็กเล็กๆอาจไม่มีอาการเด่นชัด โดยอาจมีเพียง น้ำหนักลด หรือเลี้ยงไม่โต มีไข้ ไอ เบื่ออาหาร ถ้ามีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบร่วมด้วย เด็กจะมีอาการปวดศีรษะ อาเจียน เซื่องซึม ชัก หรือหมดสติ ซึ่งอาจทำให้เด็กเสียชีวิตได้

 

Copyright © 2010 Microbiology Department, Faculty of Medicine, Siriraj Hospital, Mahidol University. All rights reserved.